สาขาบัญชี คณะบริหารธุรกิจฯ ม.ราชมงคลสุวรรณภูมิ
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. บัญชี : รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าศึกษาต่อระดับ ปวช.บัญชี)
- ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส. บัญชี : รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เข้าศึกษาต่อระดับ ปวส.บัญชี)
- ระดับปริญญาตรี (ป.ตรี บัญชีบัณฑิต : รับผู้จบมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 และ รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้าศึกษาต่อระดับ ป.ตรี บัญชี)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ป ตรี สาขาบัญชี)
- สาขาวิชาการบัญชี (ต่อเนื่อง ป.ตรี บัญชีบัณฑิต
- สาขาวิชาการบัญชี (เทียบโอน ป.ตรี บัญชีบัณฑิต )
- สาขาวิชาการบัญชี (ป.ตรี บัญชีบัณฑิต )
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส สาขาบัญชี)
- สาขาวิชาการบัญชี (ปวส. บัญชี)
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. สาขาบัญชี
- สาขาวิชาการบัญชี (ปวช. บัญชี)
สาขาวิชาการบัญชี (สาขาบัญชี) คณะบริหารธุรกิจ มทร.สุวรรณภูมิ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มุ่งเน้นให้เนื้อหาในรายวิชามีความทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพบัญชี กฎหมายทางวิชาชีพ และพัฒนาความรู้และทักษะที่เหมาะสมกับสังคมโลกในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่นำเทคโนโลยี และกระบวนการวิจัยมาใช้ในการจัดทำสารสนเทศทางบัญชีของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และส่งเสริมสู่การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งทางด้านการทำบัญชี การสอบบัญชี การวางระบบบัญชี การบัญชีภาษีอากร เป็นต้น
ปรัชญาของสาขาวิชาการบัญชี
ผลิตบัณฑิตทางวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานวิชาชีพ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนสามารถนำเทคโนโลยีทางด้านการจัดการระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพ สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามความก้าวหน้าทางวิชาชีพและเทคโนโลยีอย่างมีจรรยาบรรณ มีจิตสำนึก และรับผิดชอบต่อสังคม
เป้าหมายของสาขาการบัญชี
- เพื่อสร้างบัณฑิตหรือผู้สำเร็จการศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะวิชาชีพตามพระราชบัญญัติการบัญชี พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี และมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับ ระกอบวิชาชีพบัญชี
- เพื่อสร้างบัณฑิต หรือผู้สำเร็จการศึกษาที่เป็นนักปฏิบัติ ให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านบัญชีตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานได้จริง
- เพื่อสร้างบัณฑิต หรือผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เรียนสาขาบัญชี จะได้เรียนอะไรบ้าง ?
การศึกษาในสาขาวิชาการบัญชี จะมีเนื้อหาพื้นฐาน เช่น กลุ่มบัญชีการเงิน บัญชีต้นทุนและบัญชีบริหาร ภาษีอากรและการวางแผนภาษีอากร ระบบบัญชีและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี การสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน การวิเคราะห์งบการเงิน วิจัยทางการบัญชี เป็นต้น และความรู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานทางด้านบัญชีหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องได้ เช่น กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษากลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์มหภาค การเงินธุรกิจ หลักการจัดการ หลักการตลาด กฎหมายธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านวิชาชีพให้นักศึกษาเพื่อให้มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โครงการสหกิจศึกษา
เรียนสาขาบัญชี ดีอย่างไร?
แม้ว่าในปัจจุบันจะอยู่ในยุคสมัยดิจิทัล ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิต การปฏิบัติงาน และรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาจากเดิม เนื่องจากมีเทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายเข้ามามีบทบาทสำคัญ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วิชาชีพบัญชีก็เช่นกัน มีการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ มาใช้ในการประมวลผล วิเคราะห์ผลก็ตาม แต่วิชาชีพบัญชี ยังคงติดอันดับที่อยู่ในความต้องการของตลาด เพราะงานบัญชี เป็นส่วนงานที่สำคัญของหน่วยงานทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลทางการเงิน รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจทางธุรกิจหรือการดำเนินงานให้ผู้บริหาร หรือผู้ใช้ข้อมูลได้ทราบ ซึ่งลักษณะบางประการเทคโนโลยีไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด นั่นหมายความว่าเรียนบัญชี เราจะ
- มีงานรองรับ (ขึ้นอยู่กับความรู้ ประสบการณ์ และทักษะหรือความสามารถอื่นๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ)
- มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์ที่มี
- เป็นอาชีพ 1 ใน 8 อาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรีในประชาคมอาเซียน
- สามารถทำงานประจำ และทำงานบัญชีแบบอิสระไปพร้อม ๆ กันได้
- ไม่มีใครแย่งงาน เนื่องจากวิชาชีพบัญชี เป็นวิชาชีพที่ต้องผ่านการเรียนและการทดสอบเพื่อได้รับใบประกาศนียบัตรทางวิชาชีพ ซึ่งมีข้อกำหนดว่าว่าจะต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชีเท่านั้น เช่น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ทำงานอื่นได้ เนื่องจากในการศึกษา ได้มีโอกาสศึกษาในรายวิชาความรู้อื่นที่เกี่ยวกับ และมีการสร้างเสริมประสบการณืทำงานจริง เช่น การเงิน การวางแผน การควบคุมภายใน การวางระบบบัญชี การตลาด การจัดการ หรือแม้แต่งานในหน่วยงานราชการ หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านอื่น ๆ
เรียนสาขาบัญชี จบแล้วทำงานอะไร ?
- นักบัญชี/พนักงานบัญชี/ เจ้าหน้าที่บัญชี/ เจ้าหน้าที่การเงิน/ พนักงานธนาคาร
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
- ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
- ผู้ตรวจสอบบัญชี/ ผู้ตรวจสอบภายใน/ ผู้ตรวจสอบเเละควบคุมระบบสารสนเทศ
- นักวางระบบบัญชี
- นักบัญชีต้นทุน
- ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน การบัญชี ภาษีอากร
- ผู้จัดการ/ ผู้บริหาร/ ผู้บริหารสูงสุดด้านการบัญชีและการเงิน/ กรรมการผู้จัดการ
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา/ อาจารย์พิเศษ
- รับราชการในตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
- ประกอบธุรกิจส่วนตัว/ รับงานบัญชีอิสระ
พัฒนาการของนักศึกษาสาขาบัญชีแต่ละชั้นปี
- จบการศึกษาปีที่ 1 :
– สามารถใช้เทคโนโลยี และจัดทำงบการเงินพื้นฐานได้ - จบการศึกษาปีที่ 2 :
– สามารถจัดทำงบการเงินตามลักษณะการประกอบธุรกิจได้
– สามารถคำนวณต้นทุน และบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนได้
– สามารถคำนวณภาษีและจัดทำแบบแสดงรายการภาษีได้
– สามารถออกแบบระบบบัญชีของธุรกิจได้ - จบการศึกษาปีที่ 3 :
– สามารถจัดทำงบการเงินที่ซับซ้อนและจัดทำรายงานทางการเงินของหน่วยงานภาครัฐได้
– สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดทำบัญชีได้
– สามารถจัดทำกระดาษทำการเพื่อตรวจสอบงบการเงินได้
– สามารถนำข้อมูลทางการเงินมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจได้ - จบการศึกษาปีที่ 4 :
– สามารถนำกระบวนการวิจัยมาใช้ในการวิเคราะห์สารสนเทศทางการบัญชีได้
– สามารถวิเคราะห์งบการเงินทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินได้
– สามารถจัดทำแผนธุรกิจสำหรับการเป็นผู้ประกอบการในวิชาชีพบัญชีได้