ค่าเทอมของคณะบริหารธุรกิจฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (แบบได้ส่วนลดค่าเทอม 40% ในเทอมที่ 1/2568)
1. ค่าเทอม ระดับ ปวช. (ปวช การบัญชี, ปวช การตลาด, ปวช คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
- เทอมละ 4500 บาท + ค่าแรกเข้า 2450 บาท ,
- หลักสูตรระดับ ปวช เปิดทำการเรียนที่ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี (ราชมงคล พานิชใน, พาณิชใน) เท่านั้น
2. ค่าเทอม ระดับ ปวส. (ปวส. การบัญชี, ปวส. การจัดการทั่วไป ปวส. การตลาด ปวส. เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)
- เทอมละ 4150 บาท + ค่าแรกเข้า 2700 บาท
3. ค่าเทอม ระดับ ป.ตรี (ป.ตรี สารสนเทศ, ป.ตรี เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล, ป.ตรี 4 ปี และ ป.ตรี เทียบโอน ปวส)
- เทอมละ 5575 บาท + ค่าแรกเข้า 2650 บาท
4. ค่าเทอม ระดับ ป.ตรี (ป.ตรี การจัดการ, ป.ตรี การบัญชี, ป.ตรี การตลาด, ป.ตรี การจัดการโลจิสติกส์, ป.ตรี 4 ปี และ ป.ตรี เทียบโอน ปวส)
- เทอมละ 5075 บาท + ค่าแรกเข้า 2650 บาท
ค่าเทอมของคณะบริหารธุรกิจฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ภาคการศึกษาแรก (แบบไม่ได้ส่วนลด 40% ในเทอมที่ 1/2568)
1. ค่าเทอม ระดับ ปวช. (ปวช การบัญชี, ปวช การตลาด, ปวช คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
- เทอมละ 7600 บาท + ค่าแรกเข้า 2,450 บาท
2. ค่าเทอม ระดับ ปวส. (ปวส. การบัญชี, ปวส. การจัดการทั่วไป ปวส. การตลาด ปวส. เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล)
- เทอมละ 7050 บาท + ค่าแรกเข้า 2,750 บาท
3. ค่าเทอม ระดับ ป.ตรี (ป.ตรี สารสนเทศ, ป.ตรี เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล , ป.ตรี 4 ปี และ ป.ตรี เทียบโอน ปวส)
- เทอมละ 9900 บาท + ค่าแรกเข้า 2,650 บาท
4. ค่าเทอม ระดับ ป.ตรี (ป.ตรี การจัดการ, ป.ตรี การบัญชี, ป.ตรี การตลาด, ป.ตรี การจัดการโลจิสติกส์ , ป.ตรี 4 ปี และ ป.ตรี เทียบโอน ปวส)
- เทอมละ 8900 บาท + ค่าแรกเข้า 2,650 บาท
หลักสูตรปริญญาตรี (ป.ตรี)
คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ เปิดรับสมัครผู้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือ ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งประเภทวิชาพาณิชยกรรมทุกสาขาและไม่ใช่ประเภทวิชาพาณิชยกรรม หรือ ผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับ ระดับปริญญาตรี (ป.ตรี) ใน 5 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาสารสนเทศ โดยมีศูนย์พื้นที่จัดการศึกษา 4 ศูนย์ คือ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา ศูนย์นนทบุรีและศูนย์พื้นที่สุพรรณบุรี
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป (ป.ตรี สาขาวิชาการจัดการทั่วไป)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 121 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ-การจัดการสำนักงาน (ป.ตรี การจัดการสำนักงานสมัยใหม่)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 121 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ-การจัดการอุตสาหกรรม (ป.ตรี การจัดการอุตสาหกรรม)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา หรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 121 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี (ป.ตรี การบัญชี)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 130 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 94 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (ป.ตรี การจัดการโลจิสติกส์)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 130 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 85 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาการตลาด (ป.ตรี การตลาด)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 124 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 88 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสาขาวิชาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล (ป.ตรี สาขาวิชาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมดิจิทัล)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกสาขาวิชา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 124 หน่วยกิต แบ่งเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ 88 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
การจัดการศึกษาของหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ป.ตรี)
การจัดการศึกษา ใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ มหาวิทยาลัยอาจจัดให้มีการจัดการศึกษา ภาคฤดูร้อนก็ได้ โดยกำหนดระยะเวลาและจำนวนหน่วยกิตให้มีสัดส่วนเทียบเคียงได้กับการศึกษา ภาคปกติ