การบริหารความขัดแย้งและการสร้างความผูกพันในองค์กร (Guidelines for managing conflict and organizational commitment)

ความขัดยังเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากตนเอง บุคคลอื่น หน่วยงาน องค์กร ทั้งขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรืออาจเกิดจากสภาพแวดล้อมซึ่งถือว่าเป็นปัญหา  ที่เหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่เมื่อเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งหรือเหตุการณ์ ปัญหาเล็กๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นเหมือนไฟลามทุ่ง จากสิ่งที่ว่าเล็กกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในที่สุด ซึ่งปัญหาจากความขัดแย้งนั้น อาจจะมาจากหลายสาเหตุคือ ความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือมากกว่ามีความคิด หรือพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ผลประโยชน์ไม่ลงตัวกัน

บริหารความขัดแย้ง 1

การรับรับรู้ในเป้าหมายที่ต่างกัน ความเข้าใจผิด หรือเข้าใจวัตถุประสงค์ต่างกัน  การสื่อสารที่บกพร่องเป็นต้น แต่ความขัดแย้งในองค์การใช่ว่าจะ มีปัญหาจากความคิดเห็นไม่ตรงกันเท่านั้น แต่อาจจะมาจากความรู้สึก  ความไม่พอใจ หรืออาจจะไม่มีสาเหตุอะไรเลยก็ได้ เพียงแค่ไม่ถูกใจในหน้าตา ในวาจา หรือในกิริยา  อย่างคำกล่าวที่ว่า  “แค่ชำเลืองยังเคืองสายตา”  ยกตัวอย่างเข่น ถ้าความขัดแย้งเกิดจากตนเอง อาจมีสาเหตุมาจาก ความสับสนในตนเอง เข่น ใจคิดอย่าง แต่การกระทำเป็นอีกอย่าง เป็นต้น แต่ถ้ากิดจากบุคคลอื่น อาจจะมีหลายสามเหตุ  เช่น  ความไม่เข้าใจกัน ความคิดเห็นไม่ตรงกัน หรือบางที่ แค่เห็นหน้า บุคลิกท่าทาง ก็ขัดเคืองกันได้ เป็นต้น  หรือถ้าเป็นความขัดแย้งจากบุคคลอื่น อาจมาจากความไม่เข้าใจกัน ความมุทะลุ ความแข่งดี เรื่องของศักดิ์ศรี ความไม่พอใจในสถานภาพ เป็นต้น  แต่ถ้าเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่กว่านั้น เช่น  เกิดจากหน่วยงาน หรือองค์กรอาจมีสาเหตุเช่น การขัดในผลประโยชน์ ผลประโยชน์ไม่ลงรอยกัน เป็นต้น

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ความขัดแย้งเป็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดจากบุคคล หรือเกิดจากความไม่เข้าใจกันที่เริ่มจากบุคคลมากกว่า 2 คนขึ้นไป ซึ่งได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งจากหน่วยงาน และองค์การ ที่ไม่เข้าใจกัน ความคิดเห็นแตกต่างกันตลอดจน ผลประโยชน์ไม่ลงรอยกัน เป็นต้น

จากสาเหตุดังกล่าวข้าวต้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ ไม่ว่าจะอยู่องค์กรไหน ใหญ่เล็ก หรือเป็นอย่างไร ก็ต้องแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวให้หมดไป ซึ่งวิธีการต่างๆ ที่ได้มาจากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า มีด้วยกัน 5 วิธี ที่จะมาจัดการกับปัญหาความขัดแย้งนั้น มีมากมาย  หลายวิธี เช่น

1.การหลีกเลี่ยง (Avoidance)

2. การปรองดองกัน คือการเผชิญหน้ากันเพื่อหาทางออกร่วมกัน Reconciliation

3.การประนีประนอม Compromise คือ การพบกันคนละครึ่งทาง

4. การแข่งขัน  Competition

5. การร่วมมือกัน Cooperation

จากวิธีการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งมีราละะเอียดดังนี้

  1. การหลีกเลี่ยง (Avoidance) คือการไม่เผชิญหน้ากับคู่กรณี เปรียบเหมือนเต่า คือ หัวหดในกระดอง ยอมให้ปัญหายังคงอยู่ ซึ่งการใช้วิธีนี้แก้ปัญหา ถือว่า เป็นการแก้ปัญหาที่ง่าย แต่ปัญหากลับไม่หมดไป ผลสุดท้ายคือ ไม่มีใครแพ้ และไม่มีใครชนะ
  1. การปรองดองกัน คือการเผชิญหน้ากันเพื่อหาทางออกร่วมกัน Reconciliation เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับฝ่ายตรงข้าม ถือ เป็นการสลายความขัดแย้งแบบ ตุ๊กตาหมี
  1. การประนีประนอม Compromise คือ การพบกันคนละครึ่งทาง เป็นการใช้หลักการสลายความขัดแย้ง แบบสุนัขจิ้งจอก คือการเสียสละหรือลดความต้องการของตนเอง และเข้ามาเจรจาพูดคุยเพื่อให้เหตุการณ์ของความขัดแย้งสลายไป ถือว่า win – win เท่ากับ ชนะทั้งคู่
  1. การแข่งขัน Competition คือ การไม่ยอมกัน ทั้ง 2 ฝ่าย ผลสุดท้ายต้องมีทั้งผู้แพ้และผู้ชนะ ซึ่งเป็นการใช้หลักการสลายความขัดแย้งแบบ ปลาฉลาม ผลสุดท้ายของการแข่งขันคือ Win – Lose
  1. การร่วมมือกัน Cooperation คือการเผชิญหน้าแบบที่มี่ประสิทธิภาพมากที่สุดคือการกล้าที่จะเผชิญความจริง ที่จะหาทางออกร่วมกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งเป็นการใช้หลักการสลายความขัดแย้งแบบ นกฮูก

บริหารความขัดแย้ง 2

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า วิธีการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง มีด้วยกัน 5 วิธี คือ

  1. การหลีกเลี่ยง
  2. การปรอดดองกัน
  3. การประนีประนอม
  4. การแข่งขัน
  5. การร่วมมือกัน

ในทางกลับกัน ความขัดแย้งถ้ามีในที่ใดก็จะสร้างความปั่นป่วนให้กับองค์การไม่มากก็น้อย แต่ใช่ว่าความขัดแย้ง จะไม่ดีเสมอไป เพราะความขัดแย้งบางครั้งก็นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งสีสัน และการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ได้  แต่ถ้ามากเกินไปก็จะนำมาซึ่งการทำลายความสามัคคี ดังนั้น เมื่ออยู่ในองค์การเดียวกัน ควรจะมีความสามัคคีกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เปรียบเหมือน น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ก็จะนำมาซึ่ง ความรักและความผูกพันต่อไปในที่สุด (อนุดิษฐ์   ฐานไชยกร,2562) ดังนั้น การที่จะทำให้พนักงานในองค์การ หรือพน้กงานมีความผูกพันต่อองค์การได้นั้น ควรมีองค์ประกอบดังนี้

  1. การสร้างความพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน
  2. การได้รับการยกย่องและยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน
  3. การมีความท้าทายความสามารถในการทำงาน
  4. การเห็นถึงความสำคัญและให้มีส่วนร่วมในการทำงาน

นอกจากปัจจัยการสร้างความผูกพันข้างต้นแล้ว ปัจจัยในด้านของเงินเดือนที่เหมาะสม สวัสดิการที่ดี การมีสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน การมีโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้ ตลอดจนความก้าวหน้าในการทำงาน จัดเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานมีกำลังใจ ซึ่งจะส่งผลและผลักดันให้เกิดความผูกพันในองค์การและนำพามาซึ่งสถานที่ทำงานที่มีความสุข (Happy Work Place ) ในที่สุด

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้พนักงานมีความผูกพันในองค์การได้แก่ 1.การสร้างความพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน 2. การได้รับการยกย่องและยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน และหัวหน้างาน 3.การมีความท้าทายความสามารถในการทำงาน 4.การเห็นถึงความสำคัญและให้มีส่วนร่วมในการทำงาน 5.เงินเดือนที่เหมาะสม 6.การสวัสดิการที่ดี 7.การมีสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงาน 8.การมีโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้ ตลอดจนความก้าวหน้าในการทำงาน

บรรณานุกรม

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล, 2012 การบริหารความขัดแย้งในองค์การไม่ยาก
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • ประภาวัลย์ บุญญานภาพันธ และคณะ (2565) ภาวะผู้นำกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในองค์กร โดยหลักพุทธสันติวิธี
  • ศาสตราจารย์ ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, ราชบัณฑิต,(2563)  ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
  • เยาวลักษณ์ โพธิ์หล้า และคณะ (2023). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุไร ส้มเกลี้ยง และคณะ (2563) การบริหารความขัดแย้งของพนักงานในองค์การภาครัฐ วารสาร
  • หาดใหญ่วิชาการ
  • อนุศิษฐ์ ฐานไขยกร (2564) เจนเนอเรชั่นวาย : ความผูกพันเชิงความรู้สึกกับองค์การและความตั้งใจคงอยู่ในงาน วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร